Topics
การเดินทางในโลกซึ่งอิสระที่มองไม่เห็น
ไมว่าด้วยจิตสำนึกหรือจิตไร้สำนึกคือมุรอกอบะฮ์โดยกฎเกณฑ์แล้ว
ก่อนนอนหลับผู้หนึ่งมีประสบการณ์ 3 ลักษณะ ลักษณะแรกเริ่มนิ่ง สองรู้สึกง่วงซึม
และสุดท้ายคือหลับไหล เมื่อผู้หนึ่งยังคงตื่นปฏิบัติมุรอกอบะฮ์อยู่
เขาก็จะได้รับประสบการณ์ทั้งสามลักษณะนี้เช่นกัน ครั้งแรกการหลับเล็กน้อยจะปกคลุมผู้ที่ทำมุรอกอบะฮ์
ในเชิงของซูฟี (รหัสยนิยม) สภาวะนี้เรียกว่า “กานูด” (ครึ่งหลับครึ่งตื่น)
ในสภาวะนี้ผู้หนึ่งมองเห็นได้ด้วยดวงตาที่ลืมอยู่
แต่บางสิ่งที่มีม่านบางอย่างขวางกั้น เป็นเหตุให้สิ่งนั้นถูกลืมเลือนไป
การทำมุรอกอบะฮ์ เป็นประจำ ทำให้จิตใจที่มีจิตสำนึกสามารถธำรงร่องรอยทางเดินของสิ่งที่เห็นไว้ได้
และจดจำสิ่งที่เห็นด้วยดวงตาที่หลับสนิทในความรู้สึกเกี่ยวกับกลางวัน
โดยเปรียบเทียบกันอย่างมีชีวิตชีวามากขึ้น เป็นเพราะความเร็วของจิตใจที่เพิ่มขึ้น
จิตใจที่มีจิตสำนึกจึงล้มเหลวที่จะสัมพันธ์สิ่งต่างๆ ซึ่งกันและกัน ในด้านหนึ่งจิตใจมองเห็นบางสิ่งในโลกนี้
และอีกด้านหนึ่งมองเห็นบางอย่างในสวนสวรรค์ ในทางกลวิธีเรียกว่า “วารูด” (ความทรงจำ)
ในสภาวะนี้สิ่งที่ถูกสังเกตดูเหมือนจะเจิดจ้าสว่างไสวและได้รับการจดจำแต่จิตใจสามารถเข้าใจความหมายตามความเป็นจริงที่แท้ของสิ่งที่เห็นได้
ต่อมามีความพยายามจะอธิบายวัตถุที่เห็นได้โดยสามัญสำนึก
การอธิบายเหล่านี้อาจถูกหรือผิดก็ได้ แต่โอกาสในการที่จะอธิบายผิดมีมากกว่า
สมรรถภาพนี้เรียกว่า “มุกา
ซิฟะฮ์” (การเปิดเผย)
เมื่อความหมายของสิ่งที่เห็นในมุรอกอบะฮ์ได้เข้ามาในจิตใจด้วยก็เรียกว่า
การเปิดเผย สภาวะนี้อาจได้รับประสบการณ์เมื่อผู้หนึ่งไม่ปฏิบัติมุรอกะบะฮ์ได้เข้ามาในจิตใจด้วยก็เรียกการเปิดเผย
สภาวะนี้อาจได้รับประสบการณ์เมื่อผู้หนึ่งไม่ปฏิบัติมุรอกอบะฮ์ได้เช่นกัน
เมื่อบางคนได้รับจิตใจที่มีสมาธิในการเพ่งไม่ว่าโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม
เขาสามารถเริ่มมองเห็นสิ่งที่อยู่ห่างไกลออกไปได้ แต่ในวิธีเช่นนี้
การแสดงภาพบนจอภาพจิตใจ ทำให้เกิดความกดดันบนจิตใจที่มีจิตสำนึก
และผู้สัมพันธ์ทางจิตวิญญาณพบว่า
เป็นการยากที่จะอดทนต่อความกดดันนี้และกลายเป็นจิตไร้สำนึก
ความสามารถในการเปิดเผยนี้จะค่อยๆ เข้มแข็งขึ้นทีละน้อยๆ พร้อมด้วยจิตใจที่มีจิตสำนึกที่เข้มแข็งและมีความสามารถในการเปิดเผยข้อมูลอย่างเหมาะสม
เมื่อจิตสำนึกเข้มแข็งเพียงพอที่จะทนต่อแรงกดดันที่มีผลมาจากการหยั่งรู้ของจิตไร้สำนึก
การกระตุ้นและระบบประสาทยังคงทำหน้าที่อยู่เหมือนที่เคยกระทำระหว่างตื่น
การเปิดเผยระยะต่อมาเรียกว่า “มุชาฮิดะฮ์” (การสังเกต) ในสภาวะการสังเกตนี้
ผู้หนึ่งยังคงยุ่งอยู่กับเรื่องทางโลก เช่นมองเห็นสิ่งต่างๆ ด้วยสายตา
เพลิดเพลินกับกิจกรรมทางโลก ทานอาหารและเข้าร่วมกิจกรรมในทางโลกต่างๆ กัน
ระหว่างสภาวะการสังเกตุนี้ ผู้หนึ่งได้เข้าไปใน “โลกแห่งการชำระ”
(อาลัมอัลอะอ์รอฟ)
อาณาบริเวณที่มนุษย์เดินดินไปพำนักอยู่ในชีวิตหลังความตาย ดังจะเห็นแล้วว่า
ไม่มีความแตกต่างระหว่างชีวิตในโลกนี้กับชีวิตแห่งอะอ์รอฟ
เช่นเดียวกับผู้หนึ่งดื่ม กิน นอน ตื่นนอน แสดงความสดชื่นหรือเศร้าสร้อย
หัวเราะและร้องไห้ รู้สึกรัก หรือ เกลียดชัง ปรารถนาการสมาคมกับมิตรสหาย
ต้องการที่จะได้รับความนิยมชมชอบจากเพื่อนและได้รับความนิยมชมชอบตอบแทน
ต้องการวิธีการที่จะปกป้องตนเองจากอากาศร้อนหนาวในโลกนี้
เช่นเดียวกันในโลกแห่งอะอ์รอฟ เขาดื่ม กิน นอน
ตื่นขึ้นและบรรลุความปรารถนาทั้งปวงของชีวิต ผู้หนึ่งใช้ชีวิตอยู่ภายใต้หลังคาในโลกแห่งอะอ์รอฟ
เช่นเดียวกับที่ใช้ชีวิตในโลกนี้ สิ่งเดียวที่แตกต่างคือ ณ
สถานที่ดังกล่าวไม่ต้องมีความมานะพยายามทั้งในทางปัจเจกและรวมกลุ่ม
เพื่อทรัพย์สมบัติ และทรัพยากรธรรมชาติ เหมือนที่กระทำในโลกนี้
โลกที่ดำรงอยู่ในอะอ์รอฟ นั้น น่าลุ่มหลงและสวยงามเป็นยิ่งนัก
จนความสวยงามของโลกวัตถุไม่มีอะไรเปรียบเทียบได้
เมื่อบางคนได้เห็นอะอ์รอฟแล้วก็ได้รับการปลดเปลื้องจากแรงดึงดูดหลังจากอยู่ในสภาวะการสังเกตุ
การปลดปล่อยจากแรงดึงดูดมิได้หมายความว่า เขาจะเริ่มบินไปในอากาศ
แต่หมายความว่าเขาจัดความคิดทึมทึบ ตัณหาราคะ ความชั่วร้าย ความละโมบ ความยิ่งทะนง
ความยะโส ซึ่งมีสาเหตุมาจากการสะสมความมั่งคง ฯลฯ ความจริงที่ว่าวันหนึ่ง
ผู้หนึ่งต้องจากโลกนี้ไปสู่โลกของชีวิตที่ถาวรต้องเป็นความเชื่อที่มีความมั่นใจยิ่ง
ไม่เป็นการออกนอกประเด็นแต่อย่างใดที่จะกล่าวว่า
ศาสตร์ที่ลึกลับซึ่งวางอยู่บนความรู้ในเวทมนตร์คาถา
สามารถขึ้นไปสู่ตำแหน่งสูงได้มากที่สุดเพียงขอบเขตของ “กานูด” และ “วารูด” ในการฝึกฝนการเข้าญาณเท่านั้น
สิ่งเหล่านี้ควบคุมการกระตุ้นความสามารถของ “กานูด” และ “วารูด” ด้วยการฝึกฝนอย่างต่อเนื่องและเป็นประจำจนสามารถทำให้พวกเขาบรรลุสู่การเคลื่อนไหวเหนือธรรมชาติได้
ควาญะฮ ชัมซุดดีน อะซีมี
และถูกนำเสนอในเชิงวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงในระดับสากล
คนส่วนใหญ่รู้จักควาญะฮ์ชัมซุดดีน
อะซีมี เพราะรูปแบบการเขียนที่เป็นเลิศ ท่านเป็นเจ้าของหนังสือมากกว่า 13 เล่ม
รวมทั้งแผ่นพับ และเอกสารต่างๆ อีกมากมาย ซึ่งพูดถึงขอบข่ายความรู้สึกทางด้านอภิปรัชญา
นอกจากกลวิธีการเขียนที่ดีเลิศแล้ว
สำนวนภาษาที่ใช้ยังง่ายต่อความเข้าใจของคนทั่วไปด้วย
ผลงานของท่านในการสร้างความเป็นวิทยาศาสตร์
และความเป็นสถาบันให้กับองค์ความรู้เก่าแก่ ที่ท่านรับมาจากครูของท่าน
ไม่อาจกล่าวเป็นอื่นได้นอกจากความโดดเด่นน่าสนใจ
ควาญะฮ์ ชัมซุดดีน
อะซีมี ซึ่งได้รับการฝึกฝนจากครูของท่านคือท่าน กอลันดาร บาบา เอาลิยาอ์